วันอาทิตย์, กรกฎาคม 26, 2552


การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ประโยชน์สำหรับลูกน้อย:
น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดที่ลูกต้องการสำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของการเริ่มต้นชีวิต เนื่องจากมีสารอาหารพิเศษที่เรียกว่าพรีไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหารที่มีประโยชน์ แบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคและการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ช่วยให้ทารกเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข สุขภาพดี และพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งรอบตัว และยังมีกรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกด้วย

เพราะเหตุใดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงดีสำหรับทารก

- นมแม่เป็นสารอาหารที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

- มีสารอาหารครบถ้วนและแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อร่างกายของลูกน้อย

- การวิจัยระบุว่านมแม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานและลูคีเมียในเด็ก

- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและหูและการแพ้ต่างๆ เช่น หอบหืดและผื่นผิวหนังอักเสบ

- นอกจากนี้ การวิจัยยังแนะนำด้วยว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีระดับความดันเลือดที่ดีกว่าเด็กทั่วไป และมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคอ้วนในผู้ใหญ่น้อยกว่าเด็กที่กินนมวัว

เพราะเหตุใดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงดีสำหรับคุณแม่

- น้ำนมแม่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังมีอุณหภูมิที่เหมาะสมคงที่อยู่เสมอ

- เมื่อคุณให้ลูกกินนมแม่ ร่างกายของคุณจะหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนแห่งความรัก ( love hormone) ซึ่งช่วยสร้าง ความผูกพันกับลูก

- คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมของตนจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ก่อนวัยหมดประจำเดือน รวมถึงภาวะกระดูกพรุนด้วย ( osteoporosis)

- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้รูปร่างคุณมีสัดส่วนดังเดิมรวดเร็วขึ้น

- น้ำนมแม่มีพร้อมเสมอทุกที่ทุกเวลา และไม่จำเป็นต้องล้างขวดนมให้ยุ่งยาก

ความรู้เรื่องน้ำนมแม่





ความรู้เรื่องน้ำนมแม่ >> ทำไมน้ำนมแม่จึงดีที่สุดสำหรับทารก?

1. นมแม่มาพร้อมกับภูมิคุ้มกัน
ในนมแม่มีเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ในการดักจับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม สร้างสารต้านการอักเสบ ต้านการติดเชื้อต่างๆ กว่า 100 ชนิด ในนมแม่มี SIg A เป็นสารภูมิคุ้มกันที่มีมากที่สุดในนมแม่ มีความจำเพาะในการต้านการติดเชื้อที่มีในตัวแม่ แรกคลอดทารกยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เองการได้รับนมแม่จึงเป็นการเสริมแรงภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดสำหรับทารก


2. นมแม่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
ระยะอายุ 4-6 เดือน ทารกยังมีข้อจำกัดในการย่อยสลายโปรตีนแปลกปลอม ดังนั้นในระยะนี้ ถ้าทารกได้รับโปรตีนแปลกปลอม เช่น นมผสม เนื้อสัตว์ หรือแม้แต่ข้าว ข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้โปรตีนเหล่านี้จะยังอยู่ในสภาพโมเลกุลขนาดใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดการแพ้ได้
- โปรตีนในนมแม่ เป็นโปรตีนที่ไม่แปลกปลอมกับลูกคน
- นมแม่มีสารป้องกันการติดเชื้อทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อเป็นการช่วยลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้โดยทางอ้อมด้วย
- นมแม่มีสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้เยื่อบุแข็งแรง ป้องกันการลุกลาม ของสารแปลกปลอมได้


3. นมแม่มีสารช่วยกระตุ้นพัฒนาการอวัยวะต่างๆ
ในนมแม่มีสารฮอร์โมน และสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุ เช่น epidermal and neural growth factor สารนิวคลิโอไทด์ polyamines ในน้ำนมแม่จะมีน้ำย่อยช่วยย่อยไขมันในทางเดินอาหาร พบว่าทารกที่กินนมแม่จะมีปริมาณไขมัน ในอุจาระต่ำกว่าทารกที่กินนมผสม แสดงให้เห็นว่าไขมันในนมแม่ ถูกดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่
- สารในนมแม่ช่วยพัฒนาสมองและการมองเห็น ได้แก่ กรดไขมันจำเป็น กรดไขมัน DHA สาร Anti – oxidant สารคอเลสเตอรอล


4. นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนที่เป็นมาตรฐานในการใช้เลี้ยงทารก
ในนมแม่มีเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ในการดักจับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม สร้างสารต้านการอักเสบ ต้านการติดเชื้อต่างๆ กว่า 100 ชนิด ในนมแม่มี SIg A เป็นสารภูมิคุ้มกันที่มีมากที่สุดในนมแม่ มีความจำเพาะในการต้านการติดเชื้อที่มีในตัวแม่ แรกคลอดทารกยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เองการได้รับนมแม่จึงเป็นการเสริมแรงภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดสำหรับทารก
- กลุ่มโปรตีน ในนมแม่มีส่วนประกอบสำคัญคือ เคย์ซีน และเวย์ ในอัตราส่วน 80 : 20 โปรตีนในนมแม่ย่อยง่าย จึงผ่านกระเพาะเร็ว ทารกกินนมแม่จึงดูหิวบ่อย นอกจากนี้ ยังมี TAURINE CARNITINE NUCLEOTIDE และ IMMUNOGLOBULIN
- กลุ่มไขมัน ประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ 98 % และกรดไขมันจำเป็นอื่นๆ
- กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วย น้ำตาลแลคโตส นอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยมอีกด้วย น้ำกลุ่มโอลิโกเซคคาไรด์ ซึ่งในนมแม่มีปริมาณมากกว่าในนมวัว 100 เท่า จัดอยู่ในสารกลุ่ม PREBIOTIC

วันจันทร์, กรกฎาคม 20, 2552

ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1.น้ำนมแม่
• เป็นอาหารสมบูรณ์แบบ สร้างมาโดยเฉพาะสำหรับลูกของคุณ
• ย่อยและดูดซึมง่าย
• ช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรค
• ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก

2.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่
• ลดปัญหาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ และโรคอ้วน
• ไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับ การขับถ่ายหรือการย่อย เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด
• มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์

3.ควรให้ลูกดูดนมให้เร็วที่สุด ครั้งแรก
• น้ำนมช่วงแรกจะเป็นสีเหลือง มีประโยชน์มากในการป้องกันการติดเชื้อ
• ให้ลูกดูดนมบ่อยๆเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็ว และปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงพอกับความต้องการ
ควรให้ลูกดูดนมทั้ง 2 เต้าในการให้นมในแต่ละครั้ง
• การอุ้มลูกให้ถูกท่า และการให้ลูกอมหัวนมได้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมาก
• ให้ลูกดูดนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่ลูกต้องการ
• ให้ลูกดูดจากเต้าที่ยังค้างอยู่ก่อนเสมอ
• อย่ากังวลถ้ารู้สึกเจ็บหัวนม ใน 2-3 วันแรกในไม่ช้าก็หายไปเอง
• ควรไล่ลมให้ลูกระหว่างการให้นม และหลังให้นมลูกทุกครั้ง

4. ท่าในการให้ดูดนมแม่
• อุ้มลูกให้หันเข้าหาเต้านม
• ให้หัวนมแตะที่ริมฝีปากล่างของลูกเบาๆ เด็กจะอ้าปากกว้าง
• ให้ปากเด็กอมทุกส่วนของหัวนม และส่วนที่มีสีน้ำตาลรอบๆหัวนม (AREOLA)
• ประคองศรีษะลูกให้ชิดหน้าอกแม่
• ดึงเอาก้นลูกให้ชิดกับหน้าอกแม่ ลูกจะสามารถหายใจได้สะดวก เพราะจมูกของลูกแหงนขึ้น

5. การเอาหัวนมออกจากปากลูก
• ควรจะให้ลูกหยุดดูดนมก่อน แล้วจึงเอาหัวนมออกจากปากลูก
• สอดนิ้วก้อยเข้าไปที่มุมปากลูก เด็กจะอ้าปากกว้างก็ดึงหัวนมออกเพื่อป้องกันไม่ให้หัวนมแตก

6. ทำอย่างไรจึงมีน้ำนมเพียงพอ
1.ดื่มน้ำมากๆ และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และไม่น้อยกว่าตอนตั้งครรภ์
2.ให้ลูกดูดนมบ่อย ทุก2-3 ชั่วโมง ในระยะแรก ลูกยิ่งดูดบ่อยน้ำนมจะมามาก
3.ให้ลูกดูดนมทั้งสองข้าง ในแต่ละครั้ง
4.ให้นมผสมแก่ลูกเท่าที่จำเป็น เพราะจะทำให้ลูกดูดนมแม่น้อยลง
5.จำไว้ว่า ถ้าเปลี่ยนผ้าอ้อม 6-8 ครั้งต่อวัน แสดงว่าลูกได้น้ำนมแม่อย่างเพียงพอ

7. การบีบน้ำนมด้วยมือ
• นิ้วมือควรจะวางหลังลานหัวนมส่วนที่เป็นสีน้ำตาล
• กดลงบนเต้านมเบาๆ รีดไปข้างหน้าแล้วปล่อยมือ ทำอย่างนี้หลายๆครั้งกว่าน้ำนมจะไหล
• บีบน้ำนมใส่ในภาชนะที่สะอาด
• เปลี่ยนบริเวณที่บีบเต้านมไปเรื่อยๆ จนรอบเต้านม
• เก็บน้ำนมลงในขวดที่สะอาด และเก็บไว้ในตู้เย็น ได้ 24 ชั่วโมง ถ้าเก็บไว้ในห้องทำน้ำแข็ง เก็บได้นาน 2 สัปดาห์


หลักสำคัญในการกระตุ้นให้มีน้ำนม
1. ดูดเร็ว ให้ลูกดูดนมเเม่ทันทีหลังคลอด จะช่วยกระะตุ้นการสร้างน้ำนมมาเร็วขึ้น
2. ดูดบ่อย ให้ลูกดูดนมเเม่บ่อยตามที่ลูกต้องการ ช่วงหลังคลอดอาจจะต้องให้ดูดทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ทารกมักจะหิวนมทุก 2-3 ชั่วโมง
3. ดูดถูกวิธี ท่าดูดนมที่ถูกต้องคือ ปลายจมูกชิดเต้า ปากอมจนมิดลานหัวนม คางชิดเต้านม ลูกดูดเเล้วจังหวะสม่ำเสมอ เเม่จะต้องอยู่ในท่าสบาย ไม่ปวดหลัง
4. ดูดเกลี้ยงเต้า การดูดนมแม่จะต้องนานพอ ส่วนใหญ่ดูดสลับข้างละประมาณ 5-15 นาที ในแม่ที่จำเป็นต้องไปทำงานก่อน 6 เดือน ควรฝึกการบีบเก็บน้ำนมไว้ก่อนไปทำงานเพื่อให้พี่เลี้ยงลูกนำไปให้ลูก

*สาเหตุที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
• ทารกเกิดการสับสนระหว่างการดูดนมแม่ และการดูดนมขวด
• ป้อนนมผงมากเกินไป
• ไม่เข้าใจธรรมชาติของทารก และการสร้างนม
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

My Calendar